จุดเริ่มต้นกระบวนการ PLC ชุมนุมการเรียนรู้ของครูที่มีหัวใจเดียวกัน

PLC หรือ Professional Learning Community หากแปลตามตัวแล้ว คือ การสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ แต่ “ชุมชน” ในความหมายของ PLC คือ “ชุมนุมแห่งการเรียนรู้” อันหมายถึง การสร้างชุมนุมของคุณครูขึ้นมาเพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ของครู โรงเรียนปลูกปัญญา นครราชสีมา ให้สามารถเป็นครูที่ดีขึ้น สอนเก่งขึ้น เข้าใจเด็กมากขึ้น ดูแลนักเรียนให้ดีขึ้น สุดท้ายแล้วเป้าหมายการเรียนรู้ของครูก็นำไปสู่การพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนในที่สุด

จุดเริ่มต้นของกระบวนการ PLC

ของคุณครูมัธยมเกิดจาก “ครูผู้ที่มีหัวใจเดียวกัน” ครูที่มองเห็นความสำคัญของการพัฒนาการเรียนรู้ของตัวครู ครูที่กำลังหมดไฟ การแลกเปลี่ยนความรู้จากครูท่านอื่น ๆ การที่ตัวครูเองพบเจอปัญหาต่าง ๆ หรือมีจุดเจ็บปวด (Pain point) ที่คล้ายกัน และมีใจที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขปัญหานั้น จนนำไปสู่การวางแผนและกำหนดนโยบายของฝ่ายมัธยมต่อไป กิจกรรมหลักที่เกิดขึ้นในกระบวนการ PLC คือ การพูดคุย การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การสะท้อนประสบการณ์ตนเองร่วมกับเพื่อนครูด้วยการกัน (Sharing and Connecting Knowledge) การเสริมแรงให้ครูเข้าถึงอำนาจภายในตนเองทำให้ครูมีความชัดเจนทางความคิดตระหนักถึงคุณค่าของตนเองและผู้อื่น รวมทั้งเห็นคุณค่าในบทบาทหน้าที่ของครูชัดเจนขึ้น

PLC จึงเป็นมากกว่าการประชุมครู

แต่เป็นวงของการแบ่งปันและเรียนรู้ร่วมกับเพื่อนครู เป็นพื้นที่ปลอดภัยในการเปิดใจของครู อาชีพครูจึงไม่ควรต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยวและการสอนที่ดีไม่ควรอยู่ในแต่ใน “ห้องแห่งความลับ” อีกต่อไป

วิชา “ส.ป.ช. สร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต”

ฝ่ายมัธยม โรงเรียนปลูกปัญญา ของเรา ได้นำชื่อวิชานี้มาเปิดสอน ภายใต้เป้าหมายใหม่คือ ให้นักเรียนระดับชั้น ม.ปลาย ได้ค้นหาศักยภาพ ความชอบ และพัฒนาสร้างเป็นนวัตกรรมของตนเอง ผ่านการลงมือทำของกลุ่มนักเรียนจากคนที่มีความสนใจคล้ายกัน

พัฒนารูปแบบการทำงานของแผงโซลาเซลล์

กลุ่มที่มีไอเดีย อยากจะพัฒนารูปแบบการทำงานของแผงโซลาเซลล์ที่ให้ได้พลังงานจากแสงอาทิตย์เพิ่มมากขึ้น จากเดิมที่เคยมีอยู่(เป็นสมุตติฐาน) โดยการเขียน Code เพื่อใช้ในการควบคุม ภาพที่เห็นในวันนี้ เป็นช่วงที่ทุกคนได้ออกแบบโครงสร้างในการติดตั้งแผงโซลาเซลล์และกลไกต่างๆสำหรับใช้ในการทำงาน ตามแบบที่วาดมา ซึ่งมีการอภิปรายร่วมกันภายในกลุ่ม เราได้เห็นทุกคนในทีม วางแผน ออกแบบ แบ่งบทบาทหน้าที่ และทำงานร่วมกัน ทั้งในส่วนงานช่าง บุคลากรงานของโรงเรียนเรา ช่วยให้คำปรึกษา และสอนงานช่างด้านต่างๆ

ส่วนนวัตกรรมจะออกมาอย่างไร จะเกิดปัญหาอะไร ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้พวกเขาได้เรียนรู้และแก้ปัญหาด้วยแนวทางโรงเรียนปลูกปัญญา นครราชสีมา

บ่มเพาะเมล็ดพันธุ์

แห่งปัญญา

สู่ต้นกล้าที่เติบโต

บ่มเพาะ หล่อเลี้ยง ใส่ปุ๋ย พรวนดิน
บำรุงต้นกล้าแห่งปัญญา
ให้เติบโต แข็งแรง
เป็นไม้ใหญ่ที่มั่นคง งดงาม

เมล็ดพันธุ์แห่งความรักจะเติบโตอย่างงดงาม หากงอกจากพสุธาแห่งมิตรภาพ ดังนั้นความร่วมมือและความเข้าใจจากผู้ปกครอง จึงเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญยิ่งสำหรับโรงเรียนปลูกปัญญาในการบ่มเพาะต้นกล้าให้เติบโตอย่างงดงาม มั่นคง

ความตั้งใจของปลูกปัญญาทุกคนต่างร่วมแรงกาย แรงใจกัน เพื่อเป้าหมายเดียว นั่นคือ การพัฒนาเด็กให้มีจิตใจที่สมบูรณ์ มีปัญญาคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ แก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน และเป็นเด็กที่มีความสุข ผ่านการเรียนที่เน้นกระบวนการเรียนรู้ไปสู่การค้นพบศักยภาพในตนเอง โดยมีกัลยาณมิตรที่สำคัญที่สุด คือ บุพการี ผู้เป็นคุณครูคนแรกของลูก

Scroll to Top