ปฐมวัย 0 – 6 ขวบ วัยทองแห่งการเรียนรู้

การสื่อสาร การพูด ดนตรี ภาษาภาพ ..

เป็นเครื่องมือสื่อสารความเข้าใจ ความรู้สึกนึกคิด เป็นเครื่องมือสำคัญให้เด็กเรียนรู้ตัวเอง รู้เขารู้เรา เราต้องใช้เทคนิคทุกอย่างเพื่อให้เด็กได้ถึงขีดสุดของศักยภาพเค้า Optimal education แม้เด็กปัญญาอ่อน ก็สามารถทำให้ฉลาดขึ้นได้ การเรียนเพื่อให้เด็ก อยากรู้ ถามเป็น รู้จักตั้งคำถาม เสาะหาความรู้ได้ ฝึกถาม จับคู่ ครูกับครูให้ถามเป็น

พหุปัญญา

การเรียนไม่เพียงฟังและดู แต่การเคลื่อนไหว การสัมผัส ก็เป็น Input ได้ เด็กที่ใช้สมองข้างขวา มักมีพฤติกรรมที่ชอบเหลาดินสอ ถ้าเราทำโทษ เค้าจะชอบที่จะได้ยืน เด็กมีสไตล์การเรียนรู้ไม่เหมือนกัน

เด็กฉลาดไม่ต้องห่วง เด็กที่เราต้องสนใจคือเด็กที่อยู่ตรงกลาง เด็กที่ไม่ได้ตอบ อาจเป็นเพราะไม่กล้าพูด ไม่ได้หมายความว่าโง่ เด็กทุกคนมีสไตล์การเรียนรู้ ต่างๆกัน เป็นเรื่องที่ครูควรเข้าใจ

การเคลื่อนไหว ทำให้เราได้เรียนรู้หลายอย่างที่เป็นนามธรรมได้ ส่วนที่เราเก็บไว้เป็น Bank of Memory and conciousness, Super-conciousness, Sub-conciousness เป็นความจริงได้ เป็นเรื่องของจิตวิญญาณ ผู้ปกครอง และครูต้องทำงานร่วมกัน เพื่อพัฒนาเด็ก นักธุรกิจ ที่สร้างสรรค์ จะมาช่วยเรื่องการศึกษา ให้ดีขี้น สร้างสรรค์งานให้แพร่หลายในหมู่คน เช่น โรตารี่ ไลอ้อน The Learning Revolution

ที่ทำให้เราต้องมาทบทวนเรื่องหลักสูตร ตอนนี้เรามีหนังสือหลายประเภท big book – choral reading, small book – independent reading – ความสำคัญไม่ได้อยู่ที่เนื้อหา แต่อยู่ที่ความสามารถในการอ่าน เด็กมีความอยากรู้เป็นธรรมชาติของเค้า มีสมองในการเรียนได้ เด็กรู้ได้ก่อนพูดได้

มีหนังสือ baby language baby sign แม่จะรู้ว่ากิริยา หรือ ท่าทางของเด็กหมายความว่าอย่างไร ก่อนเค้าจะพูดได้ มนุษย์ใช้ภาษาที่เปล่งออกมาจากลำคอ เพื่อเป็นการสื่อสารได้ด้วย Vocalization

หลักสูตรประสบการณ์ชีวิต

1.อนามัยส่วนตัว Personal Hygiene การถอดเสื้อ สวมเสื้อ การใส่กางเกง การถอด รองเท้า ถุงเท้า การทำกิจส่วนตัว ให้ทำเป็นประจำ ชัดเจน เป็นอัติโนมัติ ได้เรื่องการใช้มือ

2.ลักษณะนิสัยที่ช่วยตัวเองในเรื่องเครืองมือเครื่องใช้ เครื่องแต่งกาย การดูแลสิ่งแวดล้อม การขัดถู การเปิด ปิดประตู การล้างถ้วยชาม การเช็ดกระจก การถ่ายเทของเหลว ต้องหมุน ใช้ข้อมือ ใช้ภาพตัดต่อ ที่เป็นจุด ใช้ช้อนตักข้าวโพด มีผาน ปลอก หั่น สานกระดาษ ที่คีบใหญ่ ที่คีบเล็ก เปิดปิดกล่อง ไขกุญแจ ที่เจาะกระดาษ เลื่อย ตะปู ย้ายไข่จากกล่อง ขัดพื้น เช็ดโต๊ะ ได้ไหล่ ม้วนเสื่อ จัดโต๊ะอาหาร เป็นเรื่องการ วางให้ตรง ฝึกสมาธิ ความเรียบร้อย การใช้มีด ช้อน ส้อม ตะเกียบ การเช็ดปาก ไม่เล่นหยอกกัน

ขณะกินอาหาร พูดได้เบาๆไม่ ดูแลสวน จัดดอกไม้ ดูแลสัตว์ การเดินบนเส้น การเดินตัวเปล่า การเตรียมอาหาร การหั่น ปอก บีบ คั้น การเปิด ปิด ใช้หนังสือ การเหลาดินสอไม่ให้เลอะ การใช้ไม้บรรทัด การใช้กระดาษลอกลายลอกตัวหนังสือ ให้จำได้ เพราะตัวหนังสือ เป็น abstract การใช้พู่กัน การผสมสี การปะกระดาษ การปักกระดาษ เพื่อให้ได้ผิวสัมผัส จากเศษวัสดุ ได้เรียนรู้วัสดุที่มนุษย์ทำขึ้น การใช้กาว

เริ่มต้นจากการดูเป็นรายบุคคล การทักทายแขก การรับโทรศัพท์ การกล่าวขอโทษ ขอบใจ เราอาจเริ่มจาก Pair shared ก่อน การแสดงความขอบคุณต่อผุ้อื่น การเขียนจดหมาย แสดงความรู้สึก การคลำของในถุง ใช้กล่องเสื้อผ้า กล่องลูกปัด ให้ได้ประสาทสัมผัส เด็กเล่นดิน โคลน ปั้นข้าวเหนียว

3.นิรภัยศึกษา Safety education
4.การรู้ตัวตน self awareness
5.Play and Learn, free play เล่น เรียน เพื่อการเรียนรู้
6.Reading readiness การเตรียมพร้อมเพื่อการเรียนรู้

Scroll to Top