โลกปัจจุบันตัวเราดูจากสถานะการณ์รอบโลกที่เกิดขึ้นนั้นเราอาจประมาณได้ว่าเรากำลังอยู่ใน กาลียุ ตามคัมภีรย์พระเวทย์ของพราหมณ์แล้วก็ได้ เป็นการมองจากผลที่ปรากฏ แต่ถ้าเรามองจากเหตุที่ปรากฎเราจะเห็นว่าเป็นโลกในยุค Information Technology คือ มีข้อมูลความรู้ล้นโลกแต่ก็มีปัญหาล้นโลก เช่นเดียวกัน ซึ่งจะตรงกับสุภาษิตโบราณของไทยที่กล่าวไว้ว่า “ความรู้ท่วมหัวแต่เอาตัวไม่รอด” ทำไมจึงเป็นเช่นนี้ เมื่อเรามองเปรียบเทียบสถานะการณ์ ในอดีตกับปัจจุบันจะพบว่า คนไทยในอดีตความรู้น้อยแต่อุดมด้วยปัญญาแต่ผู้คนปัจจุบัน มีความรู้มากมายแต่ไร้ปัญญา เพราะอะไร
ถ้าเราเอา 2 คำนี้มาตรวจสอบ คือ ความรู้ และปัญญา นั้นต่างกันหรือไม่ และอย่างไร เราจะพบความน่าทึ่งบางประการ คือ
ความรู้ เกิดจากกระบวนการจำ และ ลอกเลียนแบบจากผู้อื่น แต่ ปัญญา เกิดจากกระบวนการคิดวิเคราะห์และ สังเคราะห์จากข้อมูลที่ตนเอง ได้รับในขณะนั้น และ สิ่งที่น่าแปลกใจที่สุดคือคนที่ได้รับ ความรู้จะยึดติดกับความรู้ ทำให้กระบวนการคิดวิเคราะห์หยุดชงัก ดังนั้น จึงอาจอุปมา อุปมัยได้ว่า ความรู้ คือ ผู้คุมขังปัญญาที่เข้มแข็ง ส่งผลให้ผู้คนยุคใหม่ใช้ชีวิตตามความรู้แต่ขาดปัญญา
ทำอย่างถึงจะทำให้ เด็ก ๆ ของเราเป็นผู้มีปัญญา
การปลูกปัญญา ในเด็กนั้น มี 3 ปัจจัย หลักที่เราต้องทำความเข้าใจเป็นอันดับแรก การเรียนรู้ ธรรมชาติของการเรียนรู้จะมี 2 แบบ คือ การซึมซับ และการสั่งสอน โดยเรียนรู้ทั้งสองแบบในเด็กนั้นให้ประสิทธิภาพที่ต่างกันมาก คือ เด็กทั่วไป จะเรียนรู้จากการซึมซับได้ถึง 90 % ส่วนการสั่งสอนได้เพียง 10 % เท่านั้น
ครูคือใคร ? ใครเป็นครูบ้าง ? ครูที่ดีนั้นเป็นฉันใด ?
ครูคือ ผู้สร้างโลกแห่งอนาคตผ่านเด็ก ๆคือผู้สร้างคนให้เป็นมนุษย์ผู้ประเสริฐ คือผู้นำทางจิตวิญญาณ Visual
Guide โดยอาศัย พรหมวิหาร 4 เป็นเครื่องมือสำคัญ ทั้งนี้ เพราะเด็กจะเรียนรู้จากชีวิตของท่านว่า คิดอย่างไร /พูดอย่างไร /มีอารมณ์อย่างไร /ประพฤติปฏิบัติอย่างไร รวมทั้งการมีความสุขและความทุกข์อย่างไรด้วย ใครเป็นครูบ้าง ทุก ๆคนที่ใช้ชีวิตอยู่รอบข้างเด็กเป็นครูทุกคน แต่ครูมีบทบาทโดยตรง มี 3 พวก ได้แก่ พ่อ+แม่ ทั้งนี้ เพราะทั้งสองท่านคือ ผู้ใกล้ชิดที่สุดอีกทั้งมีความสัมพันธ์ทั้งทางกายและทางจิตกับเด็กมากที่สุด จึงเป็นครูที่สำคัญที่สุด และประเภทที่ สองได้แก่ ครูประจำชั้น จะเป็นผู้ที่มีปฏิสัมพันธ์กับเด็ก รองลงมา เพราะมีช่วงชีวิตที่สัมพันธ์กับเด็ก ๆเพียง 8 ชม. ต่อวัน เพียง 5 วัน ต่อสัปดาห์เท่านั้น ส่วนครูกลุ่มสุดท้ายได้แก่ ผู้อาวุโส อาจจะเป็น ปู่ย่า ตายาย พี่ป้า น้าอา โดยครูกลุ่มนี้จะช่วยให้ข้อมูลในการตัดสินใจ ในงานต่าง ๆ เพราะมีประสบการณ์ในชีวิตมามากกว่า
ครูที่ดีนั้นเป็นอย่างไรบ้าง? การวัดความเป็นครูที่ดีนั้น ต้องวัดจากตัวศิษย์ว่าเป็นคนดี มีวินัย และศิลธรรม ในใจมากน้อยเพียงใด ดังนั้น ศิษย์ที่ดีต้องมีธรรม เป็นชีวิต ดังนั้น ครูจึงต้องยึดหลักธรรมในการดำเนินชีวิตด้วย การยึดธรรมเป็นหลักย่อมส่งผลให้ศิษย์มีภูมิต้านทานต่อกิเลส และ ตัณหา โดยมีความพึงพอใจในความถูกต้องตามธรรมชาติ ถ้าทำได้จะทำให้โลกใบนี้เกิดสันติและสงบ เพราะโลกทั้งใบจะเปี่ยมไปด้วยความช่วยเหลือเกื้อกูล และร่มเย็นตลอดกาล ครูที่ดีต้องสร้างเด็กให้เป็นเทพโดยฝึกฝนให้ละอายชั่ว กลัวบาป และใจเต็มอิ่ม มิใช่สร้างเด็กให้เป็นมารโดยการปรณเปรอ ด้วยตัณหา ผ่านโสตทั้ง ห้า ทำให้เด็ก ๆตกเป็นทาสกามรมณ์ เด็กจะเติบโตด้วยจิตใจที่พร่อง และอยากตลอดเวลา พ่อแม่ที่ดี มิได้มีบุตรเพื่อตนเอง
โดยให้ชีวิตก่อนอาหาร ให้ความอบอุ่นก่อนเสื้อผ้า ให้คำแนะนำก่อนให้คำสั่งสอน ให้ปัจจุบันก่อนให้อนาคต ธรรมที่สำคัญสำหรับการเป็นครูที่ดี คือ พรหมวิหาร 4 อันได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา และ อุเบกขา ข้อสุดท้ายนี้จะเป็นข้อที่สำคัญที่สุดและยากที่สุด เพราะอุเบกขามิใช่การวางเฉยในเรื่องต่าง ๆ แต่เป็นการไม่อวดดี หรือ อวดเก่ง ในความสามารถของตนไม่ฟุ้งเฟ้อ ทะเยอทะยาน ใช้ชีวิตเรียบง่าย สันโดษ เป็นธรรมชาติ เพราะธรรมชาติจะนำพาชีวิตให้หลุดจากอุบายทั้งหลายอันได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ ย่อมส่งผลให้ชีวิตเกิดความสงบและสันติปัจจัยสุดท้ายในการสร้างปัญญาให้เด็กคือ สภาพแวดล้อม ทั้งนี้เพราะสภาพแวดล้อมจะเป็นตัวพื้นฐานในการสร้างความคิด ถ้าสภาพแวดล้อมดี ความคิดก็จะออกมาดี ดังนั้นเราจึงต้องทำความเข้าใจในสภาพแวดล้อมของความคิดให้ชัดเจน สภาพแวดล้อมของความคิด จะประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
- สภาพแวดล้อมภายนอก หมายถึงสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเด็กทั้งในทางธรรมชาติ และในทางสังคม เนื่องจากสภาพแวดล้อมภายนอกนี้จะเป็นข้อมูลที่จะให้สมองนำไปเป็นวัตถุดิบทางความคิด อาทิ เช่น คำพูด ถ้าเด็กได้รับแต่คำพูดที่ดีเข้าไป สะสมไว้ในจิต ความคิด ก็จะเลือกสรรคำพูดที่ดี ออกมาได้ทุกสิ่งทุกอย่างที่คุณพ่อ คุณแม่ กระทำไม่ว่าจะเป็นเรื่องการ พูด การคิด การมอง การใช้เวลา และการทำงาน ทั้งหมดจะถูกบันทึกไว้ในตัวลูกทั้งสิ้น ดังนั้น ลูกจึงเปรียบเสมือนกระจกเงาบานใหญ่ ที่ใช้สะท้อนให้เห็นตัวตนที่แท้จริงของทั้งคุณพ่อ และคุณแม่รวมกัน นอกจากสภาพแวดล้อมในครัวเรือน แล้วยังขยายวงกว้างไปถึงสภาพแวดล้อมในสังคมภายนอกด้วยเช่น ถ้าคุณพ่อ คุณแม่เป็น นัก Shopping เมื่อลูกโตขึ้นก็จะเป็นนัก Shopping ตามไปด้วย
- สภาพแวดล้อมภายใน หมายถึง สภาพแวดล้อมภายในจิตใจของลูกโดยสภาพแวดล้อมภายในนี้มีอิทธิพลต่อกระบวนการคิด เป็นอย่างมาก เช่น ถ้าสภาพแวดล้อมภายใน สะอาด สงบ และ สว่าง ย่อมส่งผลให้กระบวนการคิด มีความละเอียด รอบึคอบ และลึกซึ้ง แต่ถ้าสภาพแวดล้อมภายในมีแต่ความสับสน เร่งรีบ และมืดมน ย่อมส่งผลให้กระบวนการคิด หยาบ กระด้าง ยุ่งเหยิง และ รุนแรง ดังนั้น เราจำเป็นต้องเสริมสร้างสภาพแวดล้อมภายในของลูกให้ดี โดยอาศัย ไตรสิกขา เป็นเครื่องมือ คือ ศีล สมาธิ และปัญญา โดยใช้ความเป็นเหตุเป็นผล เป็นกรอบในการพิจารณาความคิด และความเหมาะสม เป็นตะแกรงเลือกความคิด เอามาใช้อย่าเอาความเห็นของผู้ใหญ่ฝ่ายเดียว
โรงฝึกนกแก้ว
รพินทรนารถ ฐากูร กล่าวว่า “จิตใจที่ได้รับการหล่อเลี้ยงด้วยถ้อยคำจะไม่ต่างอะไรกับการฝึกนกแก้ว ชีวิตเด็กเป็นวัยสดใส และเต็มเปี่ยมด้วยชีวิตชีวา ใยจึงต้องส่งให้ไปอับโชคอยู่ในโรงเรียนฝึกนกแก้วด้วยเล่า เด็กคือหีบที่ว่างเปล่า ที่คอยให้คาต่อใครเอาสิ่งของมายัดลงไปกระนั้นหรือ ถ้าใช่ เราก็ควรยัดเยียดทั้งภาษาอังกฤษ ภาษาไทย วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ รวมทั้งดนตรี และกีฬา ลงไปให้เต็มล้นขึ้นมา ยิ่งมาก ยิ่งเร็ว ยิ่งดี แต่ถ้าเด็ก คนนั้นเป็นมนุษย์ผู้ถ้อยคำต่างต่างจะซึมซาบออกมาจากภายในที่ถูกหล่อเลี้ยงด้วยจิตวิญญาณที่บริสุทธิ์และสมบูรณ์พร้อม แม้จะอยู่ในช่วงชีวิตที่เติบกล้า ก็ยังเริงร่าที่จะค้นหาสิ่งใหม่ๆที่ ไหลผ่านการรับรู้ เปรียบเสมือนดังตัวโน๊ตที่ส่งเสียงของมันเองในบทเพลงของธรรม
การเร่งรีบ ยัดเยียดสิ่งต่าง ๆอย่างหยาบๆจึงเป็นเหมือนอาชญากรที่กระทำทารุณต่อจิตวิญญาณอันบริสุทธิ์ของเด็กให้เป็นเหมือนห้องเก็บขยะใต้บันได
เด็กต้องการจินตนาการแห่งวัยเยาว์ ผ่านอารมณ์และความรู้สึกพื้นฐาน คือ ความผูกพัน การแบ่งปัน ความไว้วางใจ เด็กจะเรียนรู้จากการเคลื่อนไหวจากประสบการณ์ตรง การเล่น การทำซ้ำ และ การเลียนแบบ งานวิจัยของนักการศึกษาได้ออกมายืนยันว่า “เด็กเรียนรู้จากการสอนของครูในชั้นเรียนไม่ถึง 10% ส่วน 90% เป็นการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบตัวทั้งจากครอบครัว จากสังคม และจากตัวเองด้วย
ธรรมชาติของมนุษย์ที่สมบูรณ์จะประกอบด้วย 2 สภาวะ คือ สภาวะที่เป็นปัจเจกชน (ตัวเอง) กับสภาวะที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคม ดังนั้น เด็กจึงต้องมีการเรียนรู้ที่จะอยู่กับตัวเองตามลำพัง (สมาธิ) กับการ เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่น อย่างมีปฏิสัมพันธ์ เด็ก ๆ จึงต้องมีเพื่อนไว้ตอบสนองชีวิตทางสังคม เพื่อน มีความหมายในทางปฏิสัมพันธ์ มากกว่า จำนวนที่ใช้นับเป็นหัวในชั้นเรียน พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา และญาติ พี่น้อง ก็สามารถสร้างรูปรอย ทางปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ให้กับเด็ก ๆ ได้ ทั้งยังหลากหลายรูปแบบเป็น ชุมชน – สังคม ในสภาพที่เป็นจริงมากกว่าในชั้นเรียนที่มีแต่เด็กวัยเดียวกันกับครู เท่านั้น
ดังนั้นพื้นที่ทางสังคมที่เราต้องการจริง ๆ มิใช่ ห้างสรรพสินค้า หรือห้องอาหารที่มีชื่อแต่ควรจะเป็นสวนสาธารณะ สนามเด็กเล่น ศูนย์กีฬา ศาสนสถาน และห้องสมุด นั้นที่ ๆคุณพ่อ คุณแม่ควรจะชวนลูกแวะเวียนไปบ่อย ๆ ถ้ากลัวลูกเหงา และขาดเพื่อน
การมีไหวพริกปฏิภาณ การรู้เท่าทันคนรวมทั้งการแก้ปัญหาเฉพาะหน้านั้น ส่งผลมาจากความสามารถในการยืนหยัดด้วยตัวเอง ซึ่งเด็ก ๆ จะต้องฝึกฝนภายใต้ความดูแลเอาใจใส่จากครอบครัว ภายใต้มิติความสัมพันธ์ทางสังคม จากวงศาคณาญาติ ไปสู่กิจกรรมสาธารณต่าง ๆ เช่น ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี โรงเรียน (School) มาจากภาษากรีกว่า Skhole (ย่อมาจากการหากิน) การแสวงหาความรู้ ความเบิกบาน เพื่อการสร้างสรรค์ ชีวิตให้มีความสุขดังนั้น โรงเรียนจึงควรเป็นสถานที่ ปลดปล่อยจากภาระของชีวิตมาสู่ความแช่มชื่นใช่ที่ ๆ จะต้องแบกเทินอะไรต่อมิอะไรให้มันหนักขึ้นไปอีก
การมุ่งมั่นกับความสำเร็จมากเกินไป มันเป็นความรุนแรงทางจิตจนบางครั้งอาจทำให้เป็นบ้าได้ คนสมัยใหม่ชอบให้คุณค่ากับความขยันและมุ่งมั่นอยู่กับความสำเร็จในชีวิต แต่ให้คุณค่ากับความสุขในชีวิตน้อยเหลือเกิน วัฒนธรรมตะวันตกชอบสร้างความยิ่งใหญ่สุด ๆ เก่งที่สุด ทำให้เครียดคนตะวันตกชอบสร้างตัวเองให้ยิ่งใหญ่ทำให้ อัตตา เพิ่มขึ้น อหังการณ์เพิ่มตาม ถ้าเราไม่พยายามทำตัวให้ยิ่งใหญ่ เก่งกาจ ร่ำรวย กว่าใคร ๆ อยู่แบบพอใจเกื้อกูลกันและกัน มันสามารถใหความสุขมากกว่าการต้องไปแข่งขันกันมากมาย
สังคมสมัยใหม่ละเลยเรื่องความสุข เพราะให้ความสำคัญกับความสำเร็จแบบโลก ๆ มากเกินไป (ชาวประมงกับนักลงทุน) การเป็นคนธรรมดาที่มีความสุข ดีกว่าเป็นอัจฉริยะที่เคลียดและทุกข์ ความฟุ้งซ่านมันเป็นนักวิ่งมาราธอน วิ่งไปเรื่อยไม่จบสิ้นโดยมันจะมีคู่ขาที่วิ่งตามมาติด ๆ คือ เจ้าตัวหดหู่ พอเราฟุ้งซ่านได้ที่ เราจะเริ่มเคลียด เมื่อเคลียดได้ที่ก็จะเกิดความหดหู่ พอเราหดหู่ชีวิตมันก็จะแย่ ทำให้ไม่ว่ามองอะไรมันแย่ไปหมด เวลาที่เราขยันทางโลกมาก ๆ จะทำให้เราเกิดความขี้เกียจในทางธรรม จะถูกความหลงครอบงำ
เราน่าจะรู้จักและเข้าใจเด็ก ใน 2 วัย คือ ตอนที่เราเป็นเด็ก กับตอนที่เรามีเด็ก ชีวิตเด็กในปัจจุบันใช้เวลาส่วนใหญ่ เพื่อให้เข้าใจข้อสอบ รู้เท่าทันเล่ห์ เพทุบายของข้อสอบมากกว่าเข้าใจชีวิต ของตนเองและคนรอบข้าง ส่งผลให้ชีวิตเด็กอยู่กับตัวเองเท่านั้น เด็กถูกระดมผลักดันให้เรียนเขียน อ่าน อย่างหนัก รวมทั้งการฝึกให้ยึดเอาคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ตเป็นกุญแจสำคัญที่จะไขประตูทุกบานบนโลกให้พื้นที่ยกเว้นสังคมข้างตัว เด็กขาดโอกาสในการที่จะใช้ชีวิตที่จะกลิ้งเกลือก กับธรรมชาติ
ในต่างประเทศเกิดแนวคิดที่จะให้ธรรมชาติเป็นครู จึงมีการจัดตั้งโรงเรียน Forest Kindergarten (อนุบาลบ้านป่า) เพื่อพาเด็กกลับไปสู่สัญชาตญาณเดิมเป็นที่มาในอดีต ในประเทศไทยเกิดเป็น Home School (อนุบาลบ้านเรียน) หลักการของอนุบาลประภเภทนี้ คือ การหมั่นพาเด็กอนุบาลออกไปซึมซับกับธรรมชาติและสังคมข้างนอกอย่างสม่ำเสมอ อาจจะไปตามสวนสาธารณะหรือพิพิธภัณฑ์ และห้องสมุดชุมชน โดยเด็ก ๆ และคุณครูสามารถเดินเล่น ร้องเพลง ปีนป่าย รวมทั้งกลิ้ง รวมทั้งคลาน ปัจจุบันมีโรงเรียนประเภทนี้เกิดขึ้นมากมาย โดยเฉพาะในเยอรมัน ซึ่งเด็ก ๆ จะไม่ได้รับอนุญาตให้นำของเล่นมาด้วย หากจะเล่นอะไรต้องคิดทำเอาเองจากสิ่งของที่มีในขณะนั้น โดยจะมี Time Bank เป็นองค์กรที่สนับสนุนชุมชนให้แต่ละคนบริจาคเวลาของตัวเองลงไปทำงานช่วยเหลือผู้อื่นในชุมชนแล้วคนในชุมชนก็จะมาช่วยในสิ่งที่เราต้องการเป็นพื้นฐานชีวิตดั้งเดิมในสังคมไทย คือ “การเอาแรงกัน” ช่วยกันทำนา ช่วยกันเกี่ยวข้าว เป็นวิธีการทำงานเป็นทีมแบบไทย ๆ โดยไม่มีการแบ่งงานเป็นระบบ ไม่มีทีมเวิร์ค มีแต่ใจมาร่วมทีมเพื่อกัปตันทีมเท่านั้น
ชาวประมงกับนักลงทุน
นักลงทุนชาวอเมริกันนายหนึ่งกำลังยืนอยู่บนท่าเรือเล็ก ๆ แห่งหนึ่งในหมู่บ้านของชาวแมกซิกันขณะที่มีเรือประมงลำหนึ่งแล่นเข้ามาจอด เมื่อมองไปในเรือเห็นปลาโอครีบเหลืองตัวโต ๆ กองอยู่บนเรือลำนั้น
คนอเมริกันจึงเอ่ยชมชาวประมงพื้นถิ่นที่จับปลาได้เก่ง ก่อนที่จะเอ่ยถามต่อ “ใช้เวลาในการจับปลาพวกนี้นานมากไหม” ครู่เดียวเท่านั้นและครับ ชาวประมงตอบความคิดแบบนักลงทุนจึงแว๊บขึ้นมา “ทำไมไม่อยู่ให้นานอีกหน่อยจะได้ได้ปลามากกว่านี้ล่ะ” คนถูกถาม ตอบเสียงเรียบ ๆ ว่า “แค่นี้ก็พอเลี้ยงครอบครัววันนี้แล้วครับ” นักลงทุนจึงถามต่อว่า “แล้วคุณเอาเวลาที่เหลือไปทำอะไรล่ะ” “ผมยุ่งทั้งวันแหละครับ”ชาวประมงตอบ “นอนตื่นสาย ๆ จับปลาวันละนิดหน่อย เล่นกับลูก ๆ นอนพักกลางวัน กับ มาเรีย ภรรยาของผม ตอนเย็นไปเดินเล่นในหมู่บ้านจิบไวน์และเล่นกีตาร์ กับเพื่อน ๆ ในหมู่บ้าน คนอเมริกันจึงพูดอย่างกระหยิ่มว่า “ผมจบ MBA จากฮาร์วาร์ดเขาสามารถให้คำแนะนำคุณได้นะ อันดับแรก คุณน่าจะจับปลาให้เยอะกว่านี้ เพื่อจะได้ซื้อเรือลำโต ๆ ได้ จากการที่คุณมีเรือลำโตจะทำให้คุณมีเงินเพิ่มพอที่จะซื้อเรือเพิ่มขึ้น
จากนั้นคุณก็นำปลาที่จับได้ไปขายให้กับโรงงานโดยตรง ไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลางอย่างในตอนนี้ หรือไม่คุณก็อาจจะสร้างโรงงานเสียเองที่นี่ คุณก็จะ สามารถควบคาเองได้ทั้งหมดนับตั้งแต่วัตถุดิบ กระบวนการผลิต ผลผลิต ตลอดจนการจัดจำหน่าย ถึงตอนนั้น คุณก็สามารถย้ายจากหมู่บ้านเล็ก ๆ นี้ ไปอยู่ในเมืองแม็กซิโก ซิตี้ แล้วจึงขยับขยายไปแอลเอ แล้วไปนิวยอร์ก ได้ซึ่งคุณสามารถจะขยายกิจการให้เจริญรุ่งเรืองได้มมากยิ่งขึ้นไปอีก
เมื่อฟังมาถึงตอนนี้ ชาวประมงจึงย้อนถามว่า “ทั้งหมดนี้ต้องใช้เวลาสักกี่ปี” 15 ปี – 20 ปี จากนั้นล่ะ คนอเมรกันหัวเราะร่วน และบอกว่า “ทีนี้ก็จะถึงช่วงที่สำคัญที่สุดในชีวิตละ เมื่อโอกาสเหมาะคุณก็เอาบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์พร้อมทั้งทำหนังสือ ชี้ชวนขยายหุ้น เพื่อที่จะขายหุ้นทั้งหมดให้สาธารณะ แล้วคุณก็จะกลายเป็นมหาเศรษฐี อาจทำเงินได้เป็นล้าน ๆ เหรียญเลยนะ “เป็นล้าน ๆ แล้วไงละ” ชาวประมงถาม “จากนั้นคุณก็จะค่อยๆเกษียณ ตัวเอง ย้ายไปอยู่ที่หมู่บ้านชาวประมงเล็ก ๆ นอนตื่นสายๆ ตกปลาวันละเล็ก ๆ น้อย ๆ เล่นกับลูก ๆ หลาน ๆ นอนพักกลางวันกับภรรยาที่บ้าน ตอนเย็นก็ออกไปเดินเล่น จิบไวน์ พูดคุยและเล่นกีตาร์ กับเพื่อนฝูง
มรดกชีวิต
มรดก คือ อะไร ? คือสิ่งที่ได้รบการสั่งสมมาจากอดีต แล้วมีการถ่ายทอดและส่งมายังคนในปัจจุบัน โดยคนปัจจุบันเป็นผู้ได้รับผลจากสิ่งที่ตกทอดมา มีทั้ง ที่เป็นรูปธรรม และที่เป็นนามธรรม โดยมรดกที่เป็นรูปธรรมนั้นมีหลากหลาย เช่น มรดกธรรมชาติ หมายถึงธรรมชาติทั้งหมด บนโลกใบนี้อันได้แก่ดิน น้ำ ลม ไฟ และชีวิตที่หลากหลายที่เกื้อหนุนซึ่งกันและกันเพื่อให้โลกนี้มีความสุข
มรดกทรัพย์สิน หมายถึง เงินทอง ของมีราคาต่าง ๆ รวมทั้งบ้าน ช่อง ไร่นา และของบำเรอชีวิตทั้งหลาย ที่เราสะสมเอาไว้และตกเป็นของคนรุ่นต่อไป ในส่วนของมรดกที่เป็นนามธรรมนี้มีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของคนในอนาคตเป็นอย่างมาก แต่กลับมีคนให้ความในใจและใส่ใจน้อยมาก อาจเป็นเพราะมรดกเหล่านี้ไม่มีรูปร่างตัวตนที่ชัดเจนไม่สามารถจับต้องได้จึงทำให้ผู้คนส่วนใหญ่มองข้ามและไม่เห็นความสำคัญ มรดกนี้ คือ มรดกชีวิต
ชีวิต คืออะไร? คือพลังงานที่เสถียรที่สุด และละเอียดที่สุดจนเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบันยังไม่สามารถตรวจวัดหรือจับต้องได้ โดยเรามักจะเรียกส่วนที่ว่า จิตวิญญาณและพลังงานนี้มีนิสัยเป็นนักเดินทางโดยมีการเปลี่ยนแปลงยานพาหนะ (ร่าง) ไปเรื่อย ๆ ดังนั้น มรดกของชีวิตนี้ จึงมีอยู่ประเภทได้แก่ มรดกจากอดีต คือการกระทำที่ติดมาจากชาติปรางก่อน เราเรียกว่า “กรรมเก่า” หมายถึงสิ่งที่เราได้กระทำมาแต่อดีตทั้งกรรมที่ดี และไม่ดี จะติดวิญญาณ มาปรากฏในชีวิตประจำวัน อาจจะปรากฏทันทีที่เกิดหรือ ปรากฏในช่วงไหน ของชีวิตก็ได้ ทั้งนี้ ขึ้นกับของของกรรมนั้น ว่ามีพลังมากน้อยเพียงใด
มรดกในปัจจุบัน คือ สิ่งที่มีการสะสมตั้งแต่เกิดการปฏิสนธิเกิดเป็นชีวิตขึ้นมา โดยชีวิติที่เกิดขึ้นจะเริ่มรับรู้และสั่งสมทุกสิ่งทุกอย่างผ่านโสตทัศน์ของผู้เป็นแม่ ดังนั้น เมื่อแม่พูดอะไร ทำอะไร คิดอะไร รับรู้ (ได้กินอะไร) รวมทั้งเห็นอะไร ทุกสิ่งทุกอย่างเหล่านี้จะถูกบันทึกเข้าไปในจิตของลูกตลอดเวลาโดยฝังตัวเป็นข้อมูลอยู่ในจิตใต้สำนึก และสะท้อนกลับออกมาเมื่อเติบใหญ่ และจะติดตัวไปตลอดชีวิต มรดกชีวิตนี้ ส่งผลต่อชีวิตอนาคตเป็นอย่างมากที 5 อย่าง ได้แก่ การมอง การคิด การพูด การทำงาน การใช้เวลา
การมอง คือการรับรู้ สิ่งแวดล้อมรอบตัวที่สำคัญที่สุด และประสิทธิผล วงการเรียนรู้ จะขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพ ของการมอง ผู้ที่มองสิ่งรอบตัวต้องละเอียด กว่าลึกซึ้งกว่า ย่อมได้ประโยชน์จากการมองมากกว่าผู้อื่นนอกจากนี้การมองแต่สิ่งที่ดีย่อมส่งผลให้ผู้มองมีจิตใจที่ดีทำให้ชีวิตประสพแต่สิ่งที่ดีและมีความสุขในชีวิตมากกว่าผู้อื่น เคล็ดลับในการมองอย่างมีประสิทธิภาพ คือการมองอย่างอิสระเสรี ดังนั้น จงอย่าด่วนอธิบายในสิ่งที่มองเพราะจะทำให้ผู้มองตาบอด และจะเห็นได้เฉพาะมิติที่มีอธิบายสรุปให้ฟังเท่านั้น
โดยธรรมชาติของเด็กมักจะสนใจในสิ่งที่เคลื่อนที่ได้มากกว่าสิ่งที่เคลื่อนที่ไม่ได้ เช่น เด็กมักจะสนใจจิ้งจกมากกว่าใบไม้และสนใจผีเสื้อมากกว่าดอกไม้ ดังนั้น เราอาจจะส่งเสริมประสิทธิภาพการมองโดยกระตุ้นด้วยคำถาม การคิด คือ ชีวิตอนาคตเพราะจากการคิดจะเป็นตัวกำหนดการกระทำที่มีสุภาษิตเตือนใจในเรื่องการคิดมากมาย อาทิ เช่น
“อยู่คนเดียวให้ระวังความคิด (อย่าฟุ้งซ่าน) อยู่กับมิตรให้ระวังวาจา (อย่าพูดมาก)
“การใช้ชีวิตให้ระวังความคิด เพราะ ความคิดจะกลายเป็นความประพฤติ
จงระวังความประพฤติ เพราะ ความประพฤติจะกลายเป็นความเคยชิน
จงระวังความเคยชิน เพราะ ความเคยชินจะกลายเป็นนิสัย
จงระวังนิสัย เพราะ นิสัยจะกลายเป็นสันดาน
จงระวังสันดาน เพราะ สันดานจะกำหนดชะตากรรม
ดังนั้น ความคิดจึงมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตในอนาคตเป็นอย่างมาก ทั้งในระยะยาว และ ระยะสั้น เช่น “ถ้าในความคิดมีแต่ความโกรธ รอบตัวเราจะมีแต่คนโกรธ” “ถ้าในความคิดมีแต่ความโลภ รอบตัวเราจะมีแต่คนโลภ” “ถ้าในความคิดมีแต่ความรัก รอบตัวเราจะมีแต่คนน่ารัก”
การพูด
การพูด (คำพูด) เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่เราคุ้นเคย จนกระทั่งได้มองข้ามความสำคัญของคำพูด เพราะคำพูดนั้นมีบทบาทต่อชีวิตอนาคตของเราเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ เพราะธรรมชาติ ของคำพูดนั้น มี 2 มิติ คือ “คำพูดเมื่อยังอยู่ในปากเราจะกลายเป็นนาย แต่เมื่อคำพูดออกพ้นปาก ไปแล้วคำพูดนั้นจะกลายเป็นนายเราทันที เพราะชีวิตเราจะดีหรือเลว จะสำเร็จหรือ ล้มเหลวอยู่ที่คำพูดที่หลุดจากปากเราทั้งนั้น ดังคำกลอนที่สุนทรภู่ ได้แนะนำสั่งสอนไว้ว่า “อันคำพูด พูดดีเป็นศรีศักดิ์ มีคนรัก รสถ้อย อร่อยจิต หากพูดชั่ว ตัวตายทำลายมิตร จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา”
ดังนั้น ผู้ใหญ่ก่อนจะพูดจาอะไรออกมาต้องคิดอยู่เสมอว่า คำพูดเหล่านี้จะเข้าไปสะสมอยู่ในดวงจิตที่แสนจะบริสุทธิ์ ของเด็ก ๆ เมื่อเขาเติบโตขึ้นคำพูดในจิตใต้สำนึกเหล้านั้นก็จะหลุดพ้นจากปากออกมาและจะนำพาชี้นำให้เป็นไปตามคำพูดเหล่านั้นด้วย การพูดให้มีความสุขในชีวิตจึงต้องคำนึงถึงเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
พูดเรื่องจริง เพราะถ้านำเรื่องไม่จริงมาพูดจะเป็นการผิดศิลข้อ 3 ย่อมส่งผลให้ผู้พูดขาดความไว้เนื้อเชื่อใจ ไม่ซื่อสัตย์ รวมทั้งขาดความเคารพนับถือจากคนทั่วไป ชีวิตของผู้นั้นก็จะจมปลักอยู่ในบ่อแห่งความทุกข์
พูดเรื่องที่ดี การพูดแต่เรื่องที่ดี ย่อมส่งผลให้ผู้พูดกลายเป็นคนมีเสน่ห์ผู้คนก็ชอบที่จะคบหาและสนทนาด้วยเพราะจะได้รับแต่สิ่งที่ดี ๆ จากผู้พูด ย่อมทำให้ได้รับความเคารพนับถือ เกรงใจ และจะกลายเป็นความรักเรื่องที่ดี คือ เรื่องที่เมื่อผู้คนได้รับฟังแล้ว บังเกิดความสุข ความสบายใจ และเกิดปิติขึ้นในดวงจิตขณะนั้น
พูดเรื่องที่เป็นประโยชน์ การที่จะมีอำนาจเหนือผู้คนสามรารถทำได้ไม่ยากโดยการให้ในสิ่งที่ผู้คนต้องการ ดังนั้น การพูดที่สามารถยังประโยชน์ให้เกิดกับผู้ฟังได้ย่อมทำให้ผู้คนสนใจ และเชื่อฟังผู้พูดโดยปริยาย
พูดในวาระอันควร ทุก ๆ สรรพสิ่งบนโลกใบนี้รวมทั้งคำพูดและการกระทำจะมีคุณค่า ได้นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 ประการ อันได้แก่ ถูกคน ถูกที่ ถูกเวลา เพราะคุณค่าของทุกสิ่งขึ้นอยู่กับตัวตนว่ามีความต้องการหรือไม่ บางสิ่งที่ต้องการอยู่ตรงที่ ๆ ต้องการหรือไม่ และซึ่งจัดว่าเป็นเวลา ที่คนผู้นั้นต้องจำเป็นหรือไม่ (ไก่ได้พลอย)
พูดให้คนฟัง การที่เราจะพูดให้ได้รับความสนใจจากคนฟังนั้น ผู้พูดต้องพูดในเรื่องที่เขาอยากจะฟัง มิใช่เรื่องที่เราอยากจะพูด เพราะเป็นธรรมชาติของผู้คนมักจะชอบฟังในเรื่องที่ตนเองรู้เรื่องดีอยู่แล้วหรือเรื่อง ที่ตนมีความเชื่อถือและชื่นชอบอยู่แล้ว ในทางกลับกันของคนพูดก็มักจะอยากพูดในเรื่องที่ตนเองชอบและอยากจะพูดคือเรื่องของตัวเอง หรือพูดในสิ่งที่ตัวเองเชื่อและชื่นชอบ ดังนั้น การพูดจะให้คนฟังเราจะต้องเดาได้ว่าคนฟังคิดอะไรเชื่ออะไร และอยากฟังเรื่องอะไรมากกว่า เรื่องที่เราอยากจะพูดและเมื่อเขาเริ่มฟังเราแล้วจึงจะโยงเรื่องมายังเรื่องที่เราอยากจะพูดในตอนหลัง ในการที่จะเป็นนักพูดที่ดีได้นั้นเราต้องฝึกหัดเป็นนักฟังที่ดีด้วย เพราะการเป็นนักฟังที่ดีย่อมทำให้เกิดความเข้าใจในผู้ฟังในส่วนของเรื่องที่ตนพูดด้วย และ การเป็นนักฟังที่ดียังทำให้ได้ข้อมูลของผู้พูดด้วยว่าคิดอะไร และ เชื่ออะไร โดยเริ่มต้นจาก – หยุดพูด สิ่งสำคัญที่สุดในการฟังอย่างมีประสิทธิภาพ คือ สมาธิ ดังนั้นการจะเป็นผู้ฟังที่ดีต้องหยุดพูดทั้งทางปากและทางใจ เพราะจะทำให้การรับข้อมูลของสมองไม่เกิดความสับสนจึงรับได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
มีสติ นักฟังที่ดีต้องมีความอดทน อดกลั้น ต่อความอยากพูดโต้ตอบ (โต้เถียง) เพื่อให้การรับข้อมูลทำได้อย่างเต็มที่ความอดทนย่อมส่งผล ให้เกิดสติ ในการฟังโดยการอดทนนี้ จำเป็นต้องอดทนทั้งสองด้าน คือ ทางกาย และทางใจ (อารมณ์) ด้วย
ให้โอกาสผู้อื่นพูด นักฟังที่ดีคือ คนที่พยายามใช้หูมากกว่าปากทั้งนี้เพราะคนแต่ละคนมีหูถึง 2 ข้างแต่ใช้งานอย่างเดียว คือ ส่วนปากมีเพียงปากเดียว แต่มีหน้าที่ต่าง ๆ มากมาย เราจึงควรใช้หูให้มาก แต่ใช้ปากเท่าที่จำเป็น ถามแทรกอย่างเหมาะสม คู่สนทนาที่ดี คือ ผู้ที่มีความตั้งใจฟังสูงโดยมีความสนใจในเรื่องที่ฟังมาก ด้วยการถามแทรกในเรื่องที่ผู้พูดเริ่มชะลอการพูดลง ทำให้ผู้พูดสามารถรับรู้ได้ว่าผู้ฟังสนใจมากน้อยเพียงใด
หลีกเลี่ยงการโต้เถียงหรือวิจารณ์ผู้พูด การโต้เถียงหรือวิจารณ์ผู้พูดย่อมส่งผลให้เกิดความแตกแยกเป็นฝักเป็นฝ่ายจะทำให้บรรยากาศของการประชุมเป็นเสมือนถูกคลุมด้วยผ้าดำ ที่มีรูทะลุรูเดียวคือ การมองโลกและเรื่องราวต่าง ๆได้เพียงมุมเดียวเท่านั้น
การทำงาน
การทำงาน คือการใช้ชีวิตของผู้คนในแต่ละวัน การที่จะทำให้ชีวิตมีความสุขเต็มที่จะอยู่ที่ชีวิตที่มีคุณค่าเต็มเวลาของชีวิต (ชีวิตเต็มเปี่ยม) มีคำเปรยของคนบ้านนอกกล่าวว่า “แปลกใจที่คนร่ำเรียนจนจบปริญญาตรี โท เอก ต่างบ่นกันว่า หางานทำไม่ได้ แต่คน จบ ป.4 อยู่บ้านนอกกลับมีงานมากมายจนไม่ได้วางมือ จากที่กล่าวมานี้ ทำให้เรารู้ว่าการศึกษามิได้สอนให้คนรู้จักคุณค่าของงานแต่กลับทำวิสัยทัศน์ในการมองงานแคบลงจึงเลือกงานที่จะทำมากกว่าคนไม่มีการศึกษา
งานคืออะไร งานคือ ชีวิตเพราะถ้าเราจบชีวิตงานเราก็จบ และเราสามารถตรวจสอบชีวิตย้อนกลับได้โดยดูจากการทำงานที่ผ่านมาในชีวิตทั้งหมด ดังนั้น “งานคือสิ่งที่จะสร้างสรรค์ให้ชีวิตเป็นปกติแต่เงินคือสิ่งที่ปรนเปรอชีวิตให้ผิดปกติ” ทุกคนที่เกิดมาจะมีชีวิตที่ต้องติดตามดูแล 5 ชีวิต เสมอได้แก่
- ชีวิตตัวเอง หมายถึง ร่างกายและจิตใจที่เป็นของเราและเป็นหน้าที่ ๆ เราต้องใส่ใจดูแลให้ร่างกายเราต้องเข้มแข็งปราศจากโรคภัยต่าง ๆ รวมทั้งต้องดูแลจิตใจให้แจ่มใสและเบิกบานอยู่เสมอด้วย
- ชีวิตครอบครัว หมายถึง การใช้ชีวิตในการดูแลครอบครัวและญาติพี่น้องให้ได้อยู่เย็นเป็นสุขโดยถ้วนหน้า
- ชีวิตสังคม หมายถึง มนุษย์เป็นสัตว์สังคมทุกคนต้องมีเพื่อน ดังนั้นแต่ละคนจึงควรจะแบ่งเวลาให้กับมิตรสหายในสังคมบ้าง
- ชีวิตงาน หมายถึง คนทุกคนต้องทำมาหากินเพื่อให้ชีวิตสามารถดำรงอยู่ได้ และเมื่อคนที่มีอาชีพเดียวกันจึงมาช่วยกันทำมาหากินและมีปฏิสัมพันธ์ฉันท์เพื่อน จึงเรียกว่าเพื่อนร่วมงาน โดยทุกชีวิตมีการช่วยเหลือพึ่งพากันและกันทำให้ชีวิตงานกับชีวิตสังคมเกือบจะเป็นชีวิตเดียวกัน แต่ปัจจุบันวิถีการใช้ชีวิตได้เปลี่ยนจากการทำมาหากินมาเป็นการทำมาค้าขาย คนส่วนใหญ่จึงกลายมาเป็นมนุษย์เงินเดือน ส่งผลให้ชีวิตที่เป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์กลายมาเป็นชีวิตที่มีเงินเป็นเป้าหมายและเป็นตัวแลกเปลี่ยนที่สำคัญส่งผลให้การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกัน อย่างบริสุทธิ์ใจต้องเหือดแห้งและหมดไปด้วยอำนาจเงิน
- ชีวิตบั้นปลาย ทุกชีวิตที่เกิดมาต่างก็มีภาระรับผิดชอบ ทำให้ต้องดิ้นรนหาเลี้ยงชีพและครอบครัว เมื่อสูงวัยภาระหน้าที่เหล่านี้จะค่อย ๆ จบลงไปทำให้ความมีคุณค่าของชีวิตหายไปด้วย ดังนั้นการใช้ชีวิตบั้นปลายอย่างมีความสุขมิใช่การใช้ชีวิตด้วยการนั่งรอความตายที่จะมาดถึงแต่ควรใช้ชีวิตในลักษณะที่เราชอบจะทำให้เราได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขต่อไป เรื่อย ๆ จนกว่าชีวิตจะจบสิ้น
ชีวิตทั้ง 5 ที่กล่าวถึงนี้เป็นชีวิตที่เราต้องประคับประคองดูแลในชีวิตแต่ละวันเปรียบเสมือนนักกายกรรมที่โยนรับลูกกลม 5 ลูกสลับกันอยู่ในมือโดยมี 4 ลูกเป็นลูกแก้วส่วนอีกลูกเป็นลูกยางคือชีวิตงานที่ทุกคนรักและห่วงใยกลัวหลุดมือส่วนอีก 4 ลูกตกบ้างก็ไม่เป็นไร
- การใช้เวลา เวลาเป็นอีกมิติหนึ่งของชีวิตที่มีความสำคัญมากทั้งนี้เพราะการที่เรามีเวลาเพราะเรามีชีวิตและเวลาจะหมดทันทีที่เราหมดชีวิต ดังนั้น เมื่อชีวิตเดินหน้าตลอดทำให้เวลาเดินหน้าตลอดเช่นเดียวกัน และเราไม่สามารถดึงเวลาให้ย้อนกลับได้เลย ดังคำสุภาษิต ฝรั่งที่ว่า “Time and Tide is wait for no man” (เวลาและวารีมิมีที่จะคอยใคร) ดังนั้น การใช้ชีวิตประสพความสำเร็จมากน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับการบริหารเวลาได้ดีเพียงใดด้วย
การบริหารเวลาให้มีประสิทธิภาพนั้น เราต้องรู้จักและเข้าใจธรรมชาติของเวลาว่าจะเป็นอย่างไรบ้างทั้งนั้นเพราะ ถ้าเราบริหารเวลาผิดพลาด ทำให้ตัวเราตกเป็นทาสเวลา จะส่งผลให้เกิดความเคลียด ความเร่งรีบ ความฉุนเฉียว ความประมาท ทำให้เกิด อุบัติเหตุ ความดันโลหิตสูง ไมด์เกรน เส้นโลหิตในสมองแตก หัวใจล้มเหลว ทั้งหมดนี้เป็นต้นเหตุของการเสียชีวิตที่สูงที่สุดในประชากรโลก ธรรมชาติของเวลามี 3 มิติ ที่ควรรู้จัก คือ
- เวลาในมิติของงาน เวลาคือ ภาชนะที่ใช้บรรจุงาน ผู้ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานคือ คนที่มีความสามารถในการเลือกขนาดของภาชนะที่ใช้บรรจุงานได้อย่างเหมาะสม ถ้าเลือกภาชนะที่ใหญ่มาใส่งานเล็ก งานนั้นจะขยายตัวจนเต็มภาชนะของเวลา แต่ผลของงานได้เท่าเดิม ทำให้ชีวิตนั้นได้งานน้อยแต่ใช้เวลามาก
- เวลาในมิติของความเท่าเทียม เวลาคือสิ่งเดียวในโลกที่ยุติธรรมที่สุด เพราะทุก ๆ คนจะได้เวลาของชีวิตเท่าเทียมกันหมด คือ 24 ชม. ต่อวัน ดังนั้น คุณค่าของแต่ละชีวิตที่แตกต่างกันนั้นเกิดจากการใช้เวลาของชีวิตที่แตกต่างกัน โดยบางคนมีการใช้ชีวิตด้วยการฆ่าเวลา นั้น คือการฆ่าคุณค่าของชีวิตด้วย
- เวลาในมิติของชีวิต เวลาคือชีวิต ทั้งนี้เพราะการมองชีวิตย้อนหลังคือ การมองการใช้เวลาในชีวิตที่ผ่านมานั่นเอง และเพราะเวลาคือชีวิต ดังนั้น เมื่อการนัดหมายในการใช้ชีวิตร่วมกัน ผู้ที่ไม่รักษาเวลาโดยมาช้ากว่าเวลาที่นัดหมาย คือผู้ที่ทำลายทั้งชีวิตของตนเองและผู้อื่นด้วย ตัวอย่างเช่น ถ้านัดหมาย คน50 คน มาทำกิจกรรมร่วมกัน คนที่มาช้ากว่ากำหนด 10 นาทีเท่ากับคนผู้นั้นได้ทำลายชีวิตของคนทั้งหมดไป 500 นาที
การบริหารเวลา
การบริหารเวลาที่ดี คือการควบคุมเวลาให้เป็นทาสของชีวิต อย่าให้เวลามีโอกาสเป็นนายของชีวิตได้ การควบคุมเวลาให้เป็นทาสของชีวิตนั้นทำได้ไม่ลำบาก โดยการ “ไม่ตามเวลาโดยเด็ดขาด” การทำงานทุก ๆ อย่างให้ทำทันทีที่ได้รับ จะทำให้เราสามารถควบคุมเวลาได้ตลอดเวลา”
ปัจจัยทั้ง 5 ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ คือ มรดกชีวิต ที่พ่อแม่ต้องสะสมให้ลูก ๆ ให้ถูกที่สุดและเป็นมรดกที่ลูกสามารถนำไปใช้อย่างไม่มีวันหมดมีแต่เพิ่มพูนขึ้นมา ถ้ายิ่งใช้มากก็จะยิ่งงอกงามเจริญเติบโตมากยิ่งขึ้นและไม่มีใครสามารถแย่งชิงเอาไปจากลูกเราได้ด้วย ดังนั้น พ่อ แม่ ทั้งหลายควรจะต้องทบทวนการใช้ชีวิตดูใหม่ว่าที่ผ่านมาเราได้เตรียมอะไรไว้ให้ลูกเราบ้าง และสิ่งที่เราเตรียมไว้นั้นจะส่งผลกับชีวิตลูกอย่างไร ในอนาคต
“ความพอใจ คือ ทรัพย์อันประเสริฐ ใจสุขเลิศเพราะพอใจไม่ไหวหวั่น
ถ้ายังคิดไม่พอใจสารพัน ทรัพย์อนันต์ ก็ยังทุกข์ สุขไม่พอ”
การเรียนรู้ที่ดี จะเกิดเมื่อเราต้องทำอะไรที่ดูจะเกินความสามารถที่มีขึ้นไปนิดหน่อย เพราะถ้าเราทำอย่างสบาย ๆ มันก็จะไม่ไปถึงไหน
“การที่เราต้องล้มลุกคลุกคลานไปข้างหน้า ยังดีกว่าการยืนเต๊ะท่าอยู่ที่เดิม” มีคนรอเข้าคิวซื้อโรตีบอยกันยาวเหยียด ทางร้านยังติดป้ายกำกับเอาไว้อีกว่า “ห้ามซื้อเกิน 10 ชิ้น” คนที่เข้าคิวรอเหล่านี้คงจะรู้สึกว่าเมื่อกินโรตีแล้ว ชีวิตเหมือนได้พิชิตอะไรสักอย่าง ได้ทำอะไรสำเร็จกับเขาบ้างในวันนี้
สันโดษกับเทคโนโลยีทางความคิด
กะลาใบเดียว ติดย่ามไปธุดงค์ ใช้ได้เอนกประสงค์ ล้างหน้าแปรงฟัน ใส่อาหารที่บิณฑบาต ใส่ของสารพัด ใส่น้ำดื่มและน้ำทิ้ง นี่คือวิถีของขันน้ำใบเดียวกลางวงข้าว กาลเวลาได้คล้อยเคลื่อนเลื่อนไป คนไทยได้รับการพัฒนาตามแนวคิดและวิถีของชาวตะวันตก ทันโลก ทันสมัย ทันเหตุการณ์ มีความรู้เรื่องสุขภาพอนามัยเป็นอย่างดี มีรสนิยม และความเป็นส่วนตัวอันสูงส่ง คนเดียวใช้แก้วกาแฟ แก้วน้ำดื่ม แก้วแปรงฟันและขันล้างหน้า คนเดียวมีภาชนะใช้ของต่าง ๆ อีกมากมาย ไม่นับรวมขวด น้ำดื่มและน้ำอัดลม วิถีแห่งการใช้ทรัพยากรที่แตกต่างกันของคนสองยุคสองสมัย ที่ล้างผลาญและสร้างขยะเพิ่มขึ้นทุก ๆ นาที ชีวิตจะดีได้อย่างไร
หัวใจของการศึกษา อยู่ที่การทำให้หัวใจเปี่ยมไปด้วยความช่วยเหลือให้ ทุก ๆ ชีวิตได้เป็นปกติสุขมิใช้การฝึกฝนให้ชำนาญในการเอาเปรียบและเบียดเบียนธรรมชาติ อีกทั้งสามารถบิดเบือนความผิดพลาดทั้งปวงให้กลายเป็นความถูกต้องผลที่เกิดตามมาจะอันตรายมากเพียงใดเมื่อเขาเหล่านั้นใช้ความรู้ความสามารถทั้งปวงเพียงเพื่อเอาตัวรอด แต่เพียงอย่างเดียว
นโยบายในการศึกษาแนวธรรมชาติ
- เน้นกระบวนการเรียนรู้มากกว่าองค์ความรู้ในเรื่องนั้น ๆ
- เน้นศักยภาพและประสิทธิภาพในการรับรู้มากกว่าเนื้อหาที่ต้องรู้
- เน้นการเรียนรู้เป็นกลุ่มมากกว่า การทำงานรายบุคคล
- เน้นธรรมชาติที่สัมผัสจับต้องได้มากกว่าการเลียนแบบจากตำรา
- เน้นความสุขที่ได้เรียนรู้มากกว่าความสำเร็จจากการประเมินความรู้
ความคิดเกิดได้จากการกระทำ ความรู้เกิดได้จากการจดจำ
หัวใจของพระพุทธศาสนา คือ “อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา”
- ทุกอย่างเกิดเพื่อดับ พบเพื่อจาก รักเพื่อทุกข์ มีเพื่อหมด เพราะทุกอย่างเป็นอนิจจัง
- ถ้าเอาจิตไปใส่ไว้ในสิ่งใด เมื่อสิ่งนั้นสูญไป ใจเราก็จะสูญไปด้วยถ้าไม่เอาใจไปใส่ไว้ยึดไว้ เราก็จะไม่เสียใจ
- ยืดมาก ติดมากก็ทุกข์มาก ยืดน้อยติดน้อยก็ทุกข์น้อย การมีปัญญา คือการไม่ยึด รู้เท่ากันตามสภาพที่เป็นจริง คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
- อันความอยาก จะระงับ ดับลงได้ นั้นมิใช่ เพราะเรา ตามสนองสิ่งที่อยาก รู้ให้ทัน ดังมันปอง เพราะเราต้อง ฆ่ามันให้บรรลัย
- ทุกสรรพสิ่งในชีวิตที่คิดว่าสำคัญและยิ่งใหญ่เหลือคนา ทั้งที่จริงแล้วทุกสรรพสิ่งขึ้นอยู่กับลมหายใจเมื่อปราศจากลมหายใจ ทุกสิ่งก็หมดสิ้น (ยศ +ลาภ หายไปไม่ได้แน่ มีเพียงแต่ต้นทุนบุญกุศล ทรัพย์สมบัติทิ้งไว้ให้ปวงชน แม่ร่างตนเขาก็เอาไปเผาไฟ)
- อดีตคือสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ไม่ควรยึดมั่นผูกพันธ์ เพราะสิ่งนั้นกลับมาเป็นปัจจุบันไม่ใช่ปัจจุบันเท่านั้นที่สำเร็จประโยชน์ได้ เพราะอยู่ในฐานะ ที่ทำได้ไม่สุดวิสัย
- คนโง่จะนั่งรอความสมหวัง แต่คนฉลาดทำปัจจุบันให้ดีที่สุดโดยไม่หวังถ้าไม่หวังก็จะไม่ผิดหวัง เพราะทุกสิ่งมีเหตุผลปัจจัยที่จะต้องเกิดอยู่แล้ว
- คนทำปัจจุบันให้ดีที่สุด แล้วอนาคตจะจัดเรียงตัวของมันเอง ความดีไม่ต้องทำให้คนอื่นเห็นเพราะว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วคือความจริง เป้าหมายของการทำบุญ เพื่อลดความเห็นแก่ตัว ไม่ว่าจะทำบุญอะไรเล็งเป้าหมาย การทำใจ ให้เป็นบุญดีที่สุด คือ ใจเย็น ใจสงบ ใจว่าง การสั่งสมบุญ หรือบาป แม้ทีละเล็กละน้อย ก็จะได้ผลครบถ้วนดั่งบุญและบาป ทรัพย์สมบัติที่แท้จริงของชีวิต คือ กรรม ไม่มีใครอยู่เหนือกรรม ความสุขแท้จริงไม่ได้อยู่ที่มีทรัพย์มาก อยู่ที่พอ ใจจะเต็มอิ่มโดยทำใจให้พอดีกับสิ่งที่ได้ ได้มากก็พอใจ ได้น้อยก็พอใจความทุกข์เกิดจากความอยากได้ อยากมี อยากเป็น ความไม่รู้จักพอ รู้จักพอไม่ก่อทุกข์ (ความพอใจคือทรัพย์แสนประเสริฐ ใจสุขเลิศเพราะ พอใจไม่ไหวหวั่น ถ้ายังคิดไม่พอใจสารพัน ทรัพย์อนันต์ ก็ยิ่งทุกข์ สุขไม่พอ)
ความสุข คือ ความสงบทางจิตและกาย คือความพอ ชีวิตจะอยู่ในความปกติด คือความสันโดษ (ยินดีและพึงพอใจในสิ่งที่เป็นอยู่)
ความสนุก คือ ความตื่นเต้นทางอารมณ์จากการได้พบ ได้เห็น ได้รู้ สิ่งแปลกใหม่
บุญ เป็น สภาวะธรรมที่นำความสุขมาสู่ผู้กระทำ (ชูใจ / พอใจ/ชอบใจ/อิ่มเอิบ)
บาป เป็นสภาวธรรมที่นำความทุกข์มาสู่ผู้กระทำ (โกรธ /เศร้าหมอง/หดหู่)
กุศล ทำหน้าที่แผ้วถามสิ่งที่กีดขวาง สิ่งผูกมัด มุ่งหมายกำจัดกิเลส และตัณหา เช่นการให้ทานเพื่อขูดความขี้เหนียว ความเห็นแก่ตัว มาค้ำชูศาสนาให้มั่นคง
การรักษาศีล เป็นการควบคุมตัวเองให้เกิดความสงบสุขและบริสุทธิ์
การเจริญสมาธิ เพื่อควบคุมจิตใจให้อิ่ม เต็มและอยู่ในอำนาจโดยกวาดล้างกิเลสให้กับพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงถึง “บุญกริยาวัตถุ 10” คือ การกระทำอันเป็นเหตุให้เกิดบุญ คือ
1.ทาน คือ การให้ที่เป็นสิ่งของอาหาร ทรัพย์สิน เงินทอง รวมไปถึงอุภัยทานด้วย
2.ศีล คือ เครื่องป้องกันบาป หรืออกุศลทั้งกาย วาจา และใจ ผู้ที่มุ่งมั่นรักษาศีล ย่อมห่างไกลจากความเดือดร้อน /คฤหัสถ์ ถือ ศีล 5 และ ศีล 8 /บรรพชิต สามเณร ศีล10
3.ภาวนา คือการเจริญสมกะ +วิปัสสนา ทำให้เกิดญาณและมรรคผล (ภิกษุศีล 227)
4.เวยยาสัจจะ คือ การขวนขวายในทางที่ชอบ เอาใจใส่ช่วยเหลืองานที่ไม่ผิดศีลธรรม เช่น ช่วยงานบุญ ช่วยเหลือผู้ประสพภัย ทำความสะอาดวัดวาอาราม
5.อปจายนะ คือ การอ่อนน้อมถ่อมตน ให้เกียรติและยกย่องคนดี
6.ปัตติทาน คือ การอุทิศส่วนบุญที่ตนได้กระทำให้กับผู้อื่นทั้งโดยเจาะจง และไม่เจาะจง
7.ปัตตานุโมทนา คือ การยินดีในบุญกุศลที่ผู้อื่นได้กระทำ
8.ธัมมัสสวนะ คือ การฟังธรรมของสัตบุรุษ อาทิ พระพุทธเจ้า และพระสาวก
9.ธัมมเทศนา คือ การแสดงธรรมตามมเหตุผลที่เป็นจริง แสดงด้วยเมตตา กรุณา แสดงโดยมิได้หวังในลาภและสรรเสริญ แสดงโดยไม่กระทบตนและผู้อื่น
10.ทิฏฐชุกรรม คือ การทำความเห็นที่กล่าวทั้งหมดให้ตรง ดังนั้น การทำบุญนั้นไม่ว่าคนยากจนหรือ คนที่ร่ำรวยก็สามารถทำบุญได้ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันเพราะบุญกริยวัตถุ 10 นั้น มีถึง 8 ประการที่ไม่ต้องบริจาคทาน