“Children and Digital Literacy” : เด็กกับการรู้เท่าทันดิจิทัล

ความฉลาดทางดิจิทัลเป็นชุดของความสามารถทางสังคมอารมณ์และสติปัญญาที่ช่วยให้เด็กเผชิญกับความท้าทายกับเทคโนโลยีสมัยใหม่

ปัจจุบันเด็กยุคใหม่หรือที่เรียกว่า ดิจิทัลเนทีฟ (Digital Natives) จะเกิดและเติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้เด็กสามารถค้นหาข้อมูลจากสื่อดิจิทัลได้อย่างง่าย รวมถึงสามารถเป็นผู้สร้างสื่อได้เองอีกด้วย

ซึ่งเทคโนโลยีสมัยใหม่ไม่ได้มีบทบาทเพียง แค่อำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิตและการสื่อสารของคนในสังคมเท่านั้น แต่ยังเข้ามามีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม มุมมอง วิธีคิด ทัศนคติ ค่านิยมทางสังคม และวัฒนธรรมของผู้ใช้อีกด้วย ทำให้เด็กในยุคดิจิทัลจึงมีมุมมองความคิดที่แตกต่างออกกันไป

เด็กมีวิธีการใช้งานสื่อดิจิทัลแตกต่างจากผู้ใหญ่ โดยผู้ใหญ่จะต้องให้คำแนะนำในการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างถูกวิธีและเกิดประโยชน์นอกจากนี้ผู้ใกล้ชิดกับเด็กควรตระหนักถึงความฉลาดทางดิจิทัล (Digital intelligence) หรือ DQ โดยความฉลาดทางดิจิทัลเป็นชุดของความสามารถทางสังคมอารมณ์และสติปัญญาที่ช่วยให้เด็กเผชิญกับความท้าทายกับเทคโนโลยีสมัยใหม่

8 ทักษะที่ควรสอนเด็กในยุคดิจิทัล

ซึ่งความสามารถเหล่านั้นประกอบด้วย 8 ทักษะที่ควรสอนเด็กในยุคดิจิทัล ได้แก่

1. Digital Identity (อัตลักษณ์ออนไลน์) ตัวตนในโลกออนไลน์ให้เหมือนตัวจริง คิด พูด ทำ อย่างถูกต้อง

2.Digital Use (ยับยั้งชั่งใจ) สามารถควบคุมเวลาตัวเอง ในการใช้งานหน้าจอต่างๆได้

3. Digital Safety (เมื่อถูกรังแกออนไลน์) รู้ตัวเมื่อถูกกลั่นแกล้งคุกคาม และสามารถรับมือพร้อมวางตัวได้เหมาะสม

4.Digital Security (ท่องเน็ตอย่างปลอดภัย) สามารถปกป้องตัวเองโดยใช้รหัสผ่านที่แข็งแกร่ง พร้อมทั้งสามารถแยกแยะโปรแกรมหลอกลวง Spam, Scam และ Phishing ได้

5. Digital Emotional Intelligence (ใจเขา – ใจเรา) คิดถึงความรู้สึกของคนอื่น ไม่ด่วนตัดสินใครบนโลกออนไลน์

6. Digital Communication (รู้ถึงผลที่จะตามมา) สิ่งที่เคยโพสต์ในออนไลน์ ถึงลบแล้วก็จะยังคงอยู่เสมอ และทำให้เราเดือดร้อนในวันข้างหน้าได้

7. Digital Literacy (คิดเป็น) แยกแยะข่าวสารได้ ว่าข่าวไหนเป็นข้อมูลเท็จ ข่าวไหนเป็นจริง

8. Digital Right (รู้สิทธิและความเป็นส่วนตัว) รู้จักสิทธิมนุษยชนและสามารถปกป้องข้อมูลส่วนตัวได้

จากงานวิจัย : “เด็กกับการรู้เท่าทันดิจิทัล Children and Digital Literacy” // วีรวิชญ์ คำเจริญ และ วีรพงษ์ พลนิกรกิจ // วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม

ขอบคุณภาพจาก Pixabay

Scroll to Top